top of page

The self-driven child/อยู่เองได้ โตเองเป็น

เล่มนี้ ส่วนตัวคิดว่ายังไม่จี๊ดเท่าไหร่ อาจเป็นเพราะตนเองมีแนวคิดแบบนี้เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่คิดว่าอาจจะเป็นข้อมูลที่เหมาะสำหรับกับพ่อแม่ที่มีสัดส่วนของความเป็น regulator/dictator มากกว่า facilitator


The self-driven child/อยู่เองได้ โตเองเป็น ผลงานของ William Stixrud และ Ned Johnson แปลโดย ศิริกมล ตาน้อย


เนื้อหาของหนังสือเน้นเรื่องการเสริมสร้างศักยภาพของเด็ก โดยให้ตัวเด็กเองเป็นผู้ตัดสินใจ พ่อแม่เป็นฝ่ายข้อมูลให้กับเด็ก ให้เค้าเห็นข้อดี ข้อเสีย ในเรื่องต่างๆ และสุดท้ายให้ลูกเป็นผู้กำหนดแนวทางหรือเลือกตัวเลือกในแบบของเค้าเอง


ในช่วงแรก ผู้เขียนเล่าถึงความเครียด 3 รูปแบบ คือ

1) ความเครียดเชิงบวก เช่น การออกไปพูดหน้าชั้น ความรู้สึกก่อนสอบ การแสดงบนเวที เด็กควรจะต้องพบเจอความเครียดเหล่านี้ เพื่อสร้างตัวตนของเค้าให้คุ้นชิน และสามารถจัดการกับความเครียดได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะส่งผลให้เด็กมีทักษะเหล่านี้ติดตัวไป


2) ความเครียดที่ทนไหว เป็นความเครียดที่เกิดในช่วงเวลาสั้น โดยเด็กต้องมีเวลาตั้งรับและฟื้นฟูจิตใจ บวกกับการแนะนำของพ่อแม่ หรือผู้ปกครองซึ่งมีผลทำให้เด็กมีช่วงเวลาในการจัดการกับความเครียดเหล่านี้ได้


3) ความเครียดที่เป็นพิษ เป็นความเครียดที่เกิดเป็นระยะเวลานาน เด็กไม่สามารถรับมือได้ และไม่มีพ่อแม่ช่วยให้คำปรึกษา หรือพ่อแม่เข้าไม่ถึงข้อมูลหรือต้นเหตุที่ทำให้เด็กเครียด เหล่านี้ก็จะทำให้เค้าไม่สามารถรับมือ และตัดสินใจกับเหตุการณ์เหล่านั้นได้


ดังนั้น สิ่งสำคัญคือ อยู่ที่พ่อแม่ ว่าเข้าไป "ยุ่ง" เรื่องของลูกในระดับไหน และมีวิธี "จัดการ" กับปัญหาหรือสิ่งที่เป็นความเครียดที่รบกวนจิตใจเด็กอย่างไร หนังสือเล่มนี้ก็จะแนะแนวแนวทางต่างๆ เพื่อช่วยพ่อแม่ให้เป็นฝ่ายสนับสนุนและให้ข้อมูลลูกมากขึ้น


แต่สิ่งที่ขัดใจมากที่สุดในเล่มนี้คือ ผู้เขียนยกวิธีช่วยแก้ปัญหานั่นนี่นู่นกับเคสต่างๆ แล้วส่วนใหญ่ก็โชว์วิธีวัดผลว่าเด็กทำข้อสอบของโรงเรียนได้ดีขึ้น ได้คะแนนวัดระดับชาติมากขึ้น เด็กสนใจทำการบ้านมากขึ้น แม้กระทั่งยกเคสของตัวผู้เขียนเอง ที่ตอนนี้ก็มี "หน้าที่การงานที่ดี" หลังจากที่พ่อแม่อนุญาตให้พักจากเรียนในมหาวิทยาลัยในช่วงเวลาหนึ่ง ส่วนตัวคิดว่าเป็นการประเมินที่ "ตกม้าตาย" เพราะทำให้เห็นว่า สุดท้ายแล้ว ปลายทางของผู้เขียน ก็คือยังทำให้เด็กเดินเข้าไปสู่ระบบการศึกษาแบบเดิมๆ ได้อย่างมีความสุขมากขึ้นนั่นเอง


ในวัยที่เติบโตเป็นแม่คนแล้วในตอนนี้ ส่วนตัวมองว่า ไม่มีการเลี้ยงดูแบบใดที่ถูกหรือผิด ดังนั้น หากเราอยากให้ลูกของเราเป็นแบบไหน พ่อแม่ก็ควรจะเป็น "ต้นแบบ" ให้ลูกเห็น หลังจากนั้นก็จะอยู่ที่ลูกแล้ว ว่าเค้าจะตามต้นแบบนั้นเป๊ะ บิดไปนิดหน่อย หรือหันไปในทางทิศทางตรงกันข้ามเลย ซึ่งสุดท้ายแล้วก็ขึ้นอยู่กับตัวของเค้าเอง


8 views0 comments

Recent Posts

See All

Comentários


bottom of page