สองเล่มนี้ เนื้อหาเกี่ยวเนื่องกันพอสมควร ต้องออกตัวว่าไม่ค่อยได้อ่านทางด้านนี้ พอได้อ่านแล้ว ก็ดีใจที่ตัวเองอ่านพอเข้าใจกับเค้าบ้างและก็เห็นด้วยในบางประเด็นเลย
Autonomia ผลงานของ เก่งกิจ กิติเรียงลาภ
เล่าเรื่องราวของทุนนิยมความรับรู้ ที่ผู้คนได้เปลี่ยนผ่านจากวัตถุนิยม เป็นอวัตถุนิยม ดังนั้นเลยทำให้เกิดเหตุการณ์ว่า "Everyone is an artist/เราทุกคนคือศิลปิน" เพราะเราทุกคนสามารถสร้างสรรค์ผลงานตามที่ตนเองชอบและถนัด และสร้างรายได้จากสิ่งเหล่านั้นได้ พูดถึงรายได้ขั้นต่ำที่ทุกคนควรจะมี ที่เป็นการจัดสรรจากรัฐบาล เพื่อให้คนที่ไม่มีรายได้หรือรายได้น้อย สามารถทำงานตามที่ตนเองอยากทำ โดยที่ไม่ต้องกังวลว่าจะไม่มีเงินเพื่อการอยู่รอด เรื่อยไปถึงชั่วโมงการทำงานที่ตอนนี้เข้าสู่ช่วง "ทำได้ตลอดเวลา" เลยอาจจะส่งผลกระทบกับสุขภาพกายและสุขภาพใจ
ส่วนตัว อ่านบทแรกจะแอบยากหน่อย เหมือนมีศัพท์วิชาการจากทางสังคมศาสตร์/เศรษฐศาสตร์/จิตวิทยา มาพอสมควร เกือบจะถอดใจแล้ว แต่พอขึ้นบท 2 จนไปจบเล่มก็ชอบเลยค่ะ
ส่วนอีกเล่มนึง แผนที่อนาคต ผลงานของ โอโนะ คาซึโมโตะ แปลโดย รวิภา ต่อเจริญสิทธิผล
ต้องขอขอบคุณ อาจารย์ Apinya Wechayachai ที่ได้แนะนำในกลุ่มนี้ค่ะ
เป็นการสัมภาษณ์นักเศรษฐศาสตร์/นักข่าว และอีกหลายอาชีพ เกี่ยวกับความเป็นไปของโลกในอนาคต โดยส่วนใหญ่คิดว่า AI จะไม่ได้มาแย่งงานโดยสมบูรณ์ แต่จะมาทำให้งานต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป จะเห็นได้ว่าตอนนี้ก็เริ่มมีอาชีพใหม่ๆ ผุดขึ้นมามากมาย ส่วนอาชีพที่ AI น่าจะยังสู้ไม่ได้เลย คืองานพวกบริการสายสุขภาพต่างๆ/caretaker เนื้อหาเรื่อยไปจนถึงการมีรายได้ขั้นต่ำที่รัฐบาลอาจจะจัดสรรได้อย่างเหมาะสม และกล่าวถึงงานที่ไร้สาระ หรือ Bullshit jobs ว่าควรที่จะต้องถูกกำจัดออกไป (หรือไม่)
ทั้ง 2 เล่ม ยังมีประเด็นปลีกย่อยอื่นๆ ที่น่าสนใจ และน่านำไปคิดต่อได้อีก (เยอะ) ค่ะ
Comments